หน้าหลัก

[slideshow_deploy id=’82’]

ชื่อปริญญา วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)

Bachelor of Engineering (Computer Engineering)

วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)

B.Eng. (Computer Engineering)

วิวัฒนาการ ของคอมพิวเตอร์มีมาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ที่ผ่านมาคอมพิวเตอร์มีบทบาทในสังคมไทยเป็นอย่างมาก ได้ขยายตัวไปในกิจการทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล การรวมกันระหว่างสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมไฟฟ้าก่อกำเนิดแนว ทางวิทยาการใหม่เป็นวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องศึกษาถึง สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การออกแบบระบบดิจิตอล การออกแบบวงจรรวม การออกแบบระบบทนต่อความบกพร่อง การออกแบบระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์ การออกแบบระบบการประมวลผลแบบกระจาย การออกแบบระบบซอฟต์แวร์อำนวยการ เป็นต้นสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ไม่ได้เป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว แต่นักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะต้องศึกษาถึงการออกแบบและใช้งานระบบ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ควบคู่กันไป เพื่อที่จะสามารถนำวิทยาการมาประยุกต์กับวิชาชีพทางด้านนี้อย่างแท้จริง

วิศวกรรม คอมพิวเตอร์ คือสาขาวิชาที่ศึกษาทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ออกแบบและวิเคราะห์วงจรที่ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุม ออกแบบหน่วยประมวลผลกลางหรือวงจรรวมเพื่อทำงานเฉพาะด้าน ศึกษาระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ศึกษาและปฏิบัติจริงทางด้านระบบเครือข่ายข้อมูล อาทิการออกแบบ การสร้าง การควบคุมและการจัดการทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์บนระบบเครือข่าย

วัตถุประสงค์หลักสูตร

1. เป็นหลักสูตรปริญญาตรีที่เน้นการศึกษาด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

2. เป็นหลักสูตรที่เน้นถึงการนำวิทยาการไปใช้จริง ในอุตสาหกรรมภายในประเทศไทย

3. เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตราฐานสากลด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

4. เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงาน เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์และสามารถออกแบบระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานได้

5. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมทางวิชาการ ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก ภายในประเทศและต่างประเทศ

6. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านวิชาชีพ และมีจริยธรรมในการทำงานและคุณธรรมในการดำรงชีวิต

แนวทางประกอบอาชีพ

1. อาชีพด้านราชการ ตัวอย่างเช่น นักวิชาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

2. อาชีพด้านรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างเช่น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ดูแลระบบเครือข่าย วิศวกรที่ปรึกษา เป็นต้น

3. อาชีพด้านบริษัทเอกชน ตัวอย่างเช่น นักโปรแกรม ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาเว็บไซต์ ผู้จัดการซอฟต์แวร์ เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญา
  • ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษาและ/หรือเป็นไปตามข้อบังคับ ประกาศเกี่ยวกับการคัดเลือกนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรังสิต
  • ไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือถูกไล่ออกจากสถาบันอุดมศึกษาใด ๆ เพราะความผิดทางวินัย
  • ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  • ไม่เคยต้องโทษจำคุก เว้นแต่ความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดอันเป็นลหุโทษ

ระบบการศึกษา

ใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ โดยที่ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจมีภาคฤดูร้อนอีก 1 ภาคการศึกษาก็ได้ ซึ่งมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์

การสำเร็จการศึกษา

  • สำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 6 ภาคการศึกษาปกติ
  • เรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
  • ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 และระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมวิชาเฉพาะไม่ต่ำกว่า 2.00 (จากระดับสูงสุดที่ 4.00)

ทุนการศึกษา

  • ทุนโครงการสู่ วศ.บ. จำนวน 2 ทุน/ปี
  • ทุนดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ จำนวน 2 ทุน/ปี
  • ทุนประสิทธิ์-คุณหญิงพัฒนา จำนวน 6 ทุน/ปี

@ 2017 Esol Theme powered by WordPress Developed by ASIATHEMES