phahol

  • CPE262 – การโปรแกรมคอมพิวเตอร์

    หลักสูตร อธิบายถึงการเขียนโปรแกรมในรูปแบบของ Object Oriented Programming (OOP) เรียนเรื่อง Class, Attribute, Method การออกแบบระบบโดยใช้ UML model และนำการออกแบบนั้นมาเขียนโปรแกรมในแนวทางของ OOP ตำราหลัก –     คู่มือ Visual C# 2008 ฉบับสมบูรณ์ ตำราประกอบ –         Thinking in Object, Microsoft press –         Sams teach yourself object-oriented programming with VisualBasic.NET in 21 days, SAM. –          Object-oriented application development using MicrosoftVisual Basic .Net,, Doke, E. Reed.,Thomson Besonders durch…

  • บทความสำหรับอาจารย์

    วิวัฒนาการ ของคอมพิวเตอร์มีมาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ที่ผ่านมาคอมพิวเตอร์มีบทบาทในสังคมไทยเป็นอย่างมาก ได้ขยายตัวไปในกิจการทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล การรวมกันระหว่างสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมไฟฟ้าก่อกำเนิดแนว ทางวิทยาการใหม่เป็นวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องศึกษาถึง สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การออกแบบระบบดิจิตอล การออกแบบวงจรรวม การออกแบบระบบทนต่อความบกพร่อง การออกแบบระบบโครงข่ายคอมพิวเตอร์ การออกแบบระบบการประมวลผลแบบกระจาย  การออกแบบระบบซอฟต์แวร์อำนวยการ เป็นต้น สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ไม่ได้เป็นสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว แต่นักศึกษาสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะต้องศึกษาถึงการออกแบบและใช้งานระบบ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ควบคู่กันไป เพื่อที่จะสามารถนำวิทยาการมาประยุกต์กับวิชาชีพทางด้านนี้อย่างแท้จริง วัตถุประสงค์หลักสูตร       1. เป็นหลักสูตรปริญญาตรีที่เน้นการศึกษาด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ 2. เป็นหลักสูตรที่เน้นถึงการนำวิทยาการไปใช้จริง ในอุตสาหกรรมภายในประเทศไทย 3. เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตราฐานสากลด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 4. เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงาน เป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์และ สามารถออกแบบระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานได้ 5. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความพร้อมทางวิชาการ ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก ภายในประเทศและต่างประเทศ 6. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางด้านวิชาชีพ และมีจริยธรรมในการทำงานและคุณธรรมในการดำรงชีวิต แนวทางประกอบอาชีพ 1. อาชีพด้านราชการ ตัวอย่างเช่น นักวิชาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2. อาชีพด้านรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างเช่น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ดูแลระบบเครือข่าย วิศวกรที่ปรึกษา เป็นต้น 3. อาชีพด้านบริษัทเอกชน ตัวอย่างเช่น นักโปรแกรม ผู้จัดการโครงการคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาเว็บไซต์…